บทความที่น่าสนใจ

airasia

airasia

airasia

airasia สายการบินแอร์เอเชีย เป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซีย และเป็นสายการบินที่ให้บริการด้วยค่าโดยสารที่ถูกที่สุดในเอเชีย กลุ่มแอร์เอเชีย ดำเนินการให้บริการเที่ยวบินทั่งในประเทศ และ ระหว่างประเทศ โดยมีจุดหมายปลายทางมากกว่า 400 เมืองใน 25 ประเทศ และมีท่าอากาศยานหลักคือ EPICWIN

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ โดยให้บริการที่อาคารผู้โดยสาร อาคาร KLIA2 และยังมีสายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินอินโดนีเซียแอร์เอเชีย เข้ามาใช้บริการร่วมด้วย แอร์เอเชียมาเลเซีย มีสำนักงานจดทะเบียนตั้งอยู่ที่เปอตาลิงจายา รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ แอร์เอเชียมีแผนจะเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียนในจาการ์ตา ในปี พ.ศ. 2554ขณะเดียวกันยังคงรักษาสำนักงานใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์เอาไว้ด้วย EPIC WIN

สายการบินแอร์เอเชียได้รับรางวัล World’s best low-cost airlines award 9 ปีติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2551 – 2560 จาก Skytrax แอร์เอเชียเคยมีราคาค่าโดยสารที่ต่ำที่สุดในราคา 0.035 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อที่นั่งในปี พ.ศ. 2553[10] และยังเป็นสายการบินแรกในภูมิภาคที่มีการออกตั๋วโดยสารแบบ Ticketless คือ ไม่มีการออกบัตรโดยสารเป็นกระดาษให้ แต่จะใช้รหัสบัตรโดยสารในการเช็คอิน

airasia

ประวัติ

แอร์เอเชียก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และเริ่มดำเนินการเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ DRB-Hicom ของรัฐบาลมาเลเซีย หลังจากดำเนินงานประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก และมีหนี้สินจำนวนมาก และเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2544 กลุ่มบริษัท ทูนแอร์ โดยผู้บริหารคือ นายโทนี เฟอร์นานเดส

ได้เข้าซื้อหนี้ของสายการบินแอร์เอเชีย และเข้ามาบริหารงาน โดยเริ่มเปิดเส้นทางบินใหม่จาก ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และตีคู่แข่งอย่าง มาเลเซียแอร์ไลน์ ด้วยค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 1 ริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 0.27 ดอลลาร์สหรัฐ

ท่าอากาศยานรอง
ในปี พ.ศ. 2546 แอร์เอเชียได้เปิดตัวท่าอากาศยานรองแห่งที่สองที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเซไน ใน รัฐยะโฮร์ บาห์รู ซึ่งใกล้กับประเทศสิงคโปร์และเปิดตัวเที่ยวบินระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกด้วย โดยบินตรงสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และเริ่มมีการจัดตั้งสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทางบินสู่ประเทศสิงคโปร์, มาเก๊า,

เซียะเหมิน ประเทศจีน, กรุงมะนิลา, ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา และ ประเทศพม่า ในปัจจุบันแอร์เอเชียมาเลเซีย มีท่าอากาศยานรองอีกสองแห่งในมาเลเซียตะวันออก ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง ตั้งอยู่ในเมืองกูชิง รัฐซาราวัก และ ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ตั้งอยู่ในเมืองโกตากีนาบาลู รัฐซาบะฮ์

จุดหมายปลายทาง

ดูบทความหลักที่: AirAsia Group destinations
ไฟล์:Airasia Malaysia Route Maps KL.gif
Airasia Malaysia Route Maps From Kuala Lumpur
ไฟล์:Airasia Malaysia Route Maps Kota Kinabalu.gif JOKER GAMING
Airasia Malaysia Route Maps From Johor Bahru, Kuching & Kota Kinabalu
ในปัจจุบัน แอร์เอเชียมาเลเชียมีเส้นทางบินตรงสู่ 58 จุดหมายปลายทาง ครอบคลุมประเทศในกลุ่มอาเซียน เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ ออสเตรเลีย ด้วยฐานการบินหลักจาก ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ อาคาร LCCT

airasia

แอร์เอเชียมาเลเชีย ได้ทำการบินไปยังจุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้
มาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ – ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ฐานการบินหลัก
ปีนัง – ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง ฐานการบินหลัก
โจโฮร์บะฮ์รู – ท่าอากาศยานนานาชาติเซนัยฐานการบินหลัก
โกตากีนาบาลู – ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ฐานการบินหลัก
อลอร์สตาร์ – ท่าอากาศยานอลอร์สตาร์
บินตูลู – ท่าอากาศยานบินตูลู
โกตาบารู – ท่าอากาศยานสุลตานอิสมาอีล เปตรา
กัวลาเตอเริงกานู – ท่าอากาศยานกัวลาเตอเริงกานู
ลาบวน – ท่าอากาศยานลาบวน
มีรี – ท่าอากาศยานมีรี
กูชิง – ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง
ซันดากัน – ท่าอากาศยานซันดากัน
ซิบู – ท่าอากาศยานซิบู
ตาเวา – ท่าอากาศยานตาเวา
เกาะลังกาวี – ท่าอากาศยานนานาชาติลังกาวี
ไทย ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร – ท่าอากาศยานดอนเมือง
ภูเก็ต – ท่าอากาศยานภูเก็ต
กระบี่ – ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
เชียงใหม่ – ท่าอากาศยานเชียงใหม่
พัทยา – ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
อุดรธานี – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี (แวะพัก ท่าอากาศยานดอนเมือง)
ประจวบคีรีขันธ์ – ท่าอากาศยานหัวหิน
อินโดนีเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
บันดาอาเจะฮ์ – ท่าอากาศยานนานาชาติ สุลต่านอีสกันดาร์มูด้า
เมดาน – ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู
เปกันบารู – ท่าอากาศยานนานาชาติ สุลต่าน Syarif Qasim
ปาดัง – ท่าอากาศยานนานาชาติปาดัง
ปาเล็มบัง – ท่าอากาศยานนานาชาติปาเล็มบัง
จาการ์ตา – ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา
บันดุง – ท่าอากาศยานนานาชาติฮุสเซอิน ซัสตราเนการ่า
ยอกยาการ์ตา – ท่าอากาศยานนานาชาติอดิสุจิบโต
เซมารัง – ท่าอากาศยานนานาชาติ Achmad Yani
สุราบายา – ท่าอากาศยานนานาชาติจวนดา
บาหลี – ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร เดนปาซาร์
ลอมบอก – ท่าอากาศยานนานาชาติลอมบอก
บาลิก์ปาปัน – ท่าอากาศยานนานาชาติบาลิก์ปาปัน
มากัซซาร์ – ท่าอากาศยานนานาชาติมากัซซาร์ อูจุง ปาดัง
โซโล (สุราการ์ตา) – ท่าอากาศยานนานาชาติโซโล(Adisumarmo)

airasia

การบริการบนเครื่องบิน

ที่นั่งผู้โดยสารภายใน Airbus A320
จำนวนฝูงบินของสายการบินแอร์เอเชียมาเลเซีย ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 66 ลำ

การให้บริการบนเครื่องบินของแอร์เอเชีย เป็นการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน (เดิมทีบริการนี้มีชื่อเรียกว่า “Snack Attack” แต่ต่อมาได้ยกเลิกชื่อเรียกนี้ไป) และการให้สั่งจองอาหารพร้อมชำระเงินล่วงหน้าก่อนเริ่มเที่ยวบินไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

แอร์เอเชียเป็นสายการบินที่ได้รับการรับรองจาก the KL Syariah Index หรือหน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องอาหารให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ในเที่ยวบินของแอร์เอเชียจะไม่จำหน่ายอาหารประเภทหมู และไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยกเว้นเที่ยวบินภายในประเทศบางประเทศ

ฝูงบิน

ฝูงบิน

ไฟล์:AIRASIA AWESOME 100TH AIR BUS.jpg
Celebrating the Year of the Dragon and the launch of their 100th Airbus

Description Airbus A320 (9M-AFA)

Last Update : 19 กันยายน 2020 (ข้อมูลล่าสุดปี 2020)